ค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงสำหรับอาคารสูง

Go to content

ค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงสำหรับอาคารสูง

ทดสอบสมรรถนะไฟร์ปั๊ม
Published by Weerawut in Knowledge · 30 December 2023
การหาค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงสำหรับอาคารสูง

ค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงสำหรับอาคารสูง จะพิจารณาจากระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง กับ ระบบท่อยืน (Standpipe) สำหรับตู้ FHC หรือ Hose valve ในกรณีที่เป็นอาคารสูงสำหรับสำนักงาน ระบบท่อยืนมักจะเป็นตัวที่ใช้น้ำดับเพลิงสูงกว่า จึงเป็นตัวที่ไปกำหนดขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
การดูขนาดของอัตราสูบ จะูดูจากจำนวนท่อยืน (Standpipe หรือ riser) ซึ่งจะระบุตามมาตรฐาน วสท.3002-51 หรือ NFPA14 และกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่ระบุให้ปริมาณการจ่ายน้ำไม่น้อยกว่า 475 GPM (หรือ 30 ลิตรต่อวินาที) สำหรับท่อยืนแรก และไม่น้อยกว่า 238 GPM (หรือ 15 ลิตรต่อวินาที) สำหรับท่อยืนแต่ละท่อที่เพิ่มขึ้น โดยการวางตำแหน่งท่อยืนก็จะต้องไปดูเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เมื่อทราบปริมาณน้ำโดยรวมแล้วก็ต้องไปพิจารณาเรื่องความดันโดยจะต้องออกแบบให้ความดันต่ำสุดที่หัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงที่ชั้นสูงสุดไม่น้อยกว่า 65.25 PSI (0.45 เมกะปาสกาลมาตร)

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงสูงสุด หรือ เพียงพอในตอนติดตั้ง แต่จะเกิดปัญหาเมื่อสมรรถนะเริ่มลดลง สันนิษฐานว่าในการเลือกขนาดขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้ จะอ้างอิงจากความสูงระหว่างห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงกับชั้นบนสุดเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงความต้านทานของการไหลในเส้นท่อเมื่อมีการใช้น้ำดับเพลิงตามที่ออกแบบ ถ้าเลือกใช้ขนาดท่อที่ขนาดโตเพียงพอก็อาจจะมีค่าความต้านทานไม่มาก แต่บางครั้งท่อในแนวนอนยาวและซับซ้อนมากหรือใช้ท่อขนาดไม่เหมาะสม ก็ควรต้องนำค่าความต้านทานมาพิจารณาประกอบ


ตัวอย่างอาคารสูงที่สร้างใหม่ เป็นอาคาร 31 ชั้น แบ่งระบบดับเพลิงเป็น 2 โซน ชั้นใต้ดิน B3 ถึงชั้น 19 เป็น Low zone และตั้งแต่ชั้น 20 ถึง ชั้นดาดฟ้า เป็น High zone โดยใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงดีเซล จำนวน 2 ชุด จ่ายให้แต่ละโซน แยกอิสระจากกัน ทั้งอาคารจะมีท่อยืนสำหรับตู้ FHC จำนวน 3 riser และในชั้นใต้ัดินถึงชั้น 10 จะเพิ่ม FHC อีก 2 ตู้ สำหรับอาคารจอดรถที่อยู่ในอาคารเดียวกัน ดังนั้นในการออกแบบและทดสอบระบบท่อยืนควรมีอย่างน้อย 3 รอบ ตาม NFPA14
รอบที่ 1 ชั้นบนสุด ออกแบบที่ 1,000 GPM (High zone)
รอบที่ 2 ชั้น 19 ออกแบบที่ 1,000 GPM (Low zone)
รอบที่ 3 ชั้น 10 ออกแบบที่ 1,500 GPM (Low zone)



สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ ค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงจากการประมาณการของ ชั้นที่ 19 อยู่เหนือกราฟสมรรถนะของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งใหม่ ถ้าข้อมูลการวิเคราะห์ถูกต้อง ในทางวิศวกรรมดับเพลิงมีหมายความว่า เครื่องสูบน้ำดับเพลิงของ Low zone ไม่พร้อมใช้งาน!



หมายเหตุ ในกรณีที่อาคารมีการดัดแปลงไปใช้วัตถุประสงค์อื่น เช่น ใช้เป็นกระบวนการผลิต หรือเป็น คลังสินค้า ก็ต้องทบทวนระบบดับเพลิงว่าเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่
รับคำนวณหาค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิง (WATER DEMAND) ด้วยวิธีการคำนวณด้วยกลศาสตร์ของไหล (HYDRAULIC CALCULATION) เพื่อใช้เปรียบเทียบกับ ผลการทดสอบสมรรถนะเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประจำปี ในกรณีที่เริ่มพบว่าสมรรถนะไม่ผ่านเกณฑ์ (UNSATISFACTION) เพื่อใช้ลดความรุนแรงของการประเมินผล จาก ความไม่พร้อมใช้งาน (IMPAIRMENT) เป็น ความบกพร่องไม่วิกฤติ (NON-CRITICAL DEFICIENCY) สำหรับกรณีที่สมรรถนะไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ยังสามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมค่าความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิง
จัดทำรายงานด้วยโปรแกรม Canute FHC หรือ Elite Fire ที่มีลิขสิทธิถูกต้อง และตรวจทานด้วยวิศวกรเครื่องกลที่มีประสบการณ์
สนใจติดต่อ วีรวุฒิ มือถือ และ Line ID: 0815778879
บริษัท ดับบลิวแอล วิศวกรรมและพลังงาน จำกัด


There are no reviews yet.
0
0
0
0
0
บริษัท ดับบลิวแอล วิศวกรรมและพลังงาน จำกัด

weerawut0312@gmail.com
081-577-8879
Line ID: 0815778879
สงวนลิขสิทธิ์ - Createx with WebSite X5 Pro
Back to content